เมนู

เหล่านั้นให้เป็นการข่มขี่ด้วยดี โดยกาลอันควร โดยชอบธรรมอย่างนี้แล
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีให้เห็น
แจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ท่านอนาถบิณฑิก-
คฤหบดีอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจ
หาญ ร่าเริง ด้วยธรรมมีกถาแล้ว ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมลาพระผู้มี-
พระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี
หลีกไปไม่นาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุใดแลเป็นผู้มีธรรมอันไม่หวั่นไหวในธรรมวินัยตลอดกาล
นาน ภิกษุแม้นั้นพึงข่มขี่อัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเหล่านั้นให้เป็นการข่มขี่
ด้วยดีโดยชอบธรรมอย่างนี้ เหมือนท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีข่มขี่แล้ว
ฉะนั้น.
จบทิฏฐิสูตรที่ 3

อรรถกถาทิฏฐิสูตรที่ 3


ทิฏฐิสูตรที่ 3

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สณฺฐเปสุํ ได้แก่ ทางแห่งการดำเนินบ้าง ทางแห่งคำ
พูดบ้าง. บทว่า อปฺสทฺทวินีตา ได้แก่ ผู้อันพระศาสดาผู้มีพระสุรเสียง
น้อย ตรัสแต่พอประมาณ ทรงแนะนำแล้ว. บทว่า ปรโฆสปจฺจยา วา
ได้แก่ หรือว่า เพราะถ้อยคำของบุคคลอื่นเป็นเหตุ. บทว่า เจตยิตา
ได้แก่ กำหนดแล้ว. บทว่า มงฺกุภูตา ได้แก่ เสียใจ หมดอำนาจ
บทว่า ปตฺตกฺขนฺธา แปลว่า คอตก. บทว่า สหธมฺเมน ได้แก่ โดยถ้อยคำ
ที่มีเหตุมีการณ์.
จบอรรถกถาทิฏฐิสูตรที่ 3